เกร็ดเล็กน้อยในการดูแลสุขภาพเด็ก
เกร็ดเล็กน้อยในการดูแลสุขภาพเด็ก
เมื่อ : 08 มี.ค. 2565 , 23987 Views
เมื่อพาลูกไปหาหมอควรทำอย่างไร
1. อย่าแสดงความกังวลมากเกินไปเพราะจะทำให้ลูกตกใจตามไปด้วย
2. เล่าอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆรวมทั้งการรักษา และการใช้ยาที่ทำไปแล้ว
3. ตอบคำถามของหมอให้ตรงจุดไม่ปิดบัง
4. อุ้มลูกนั่งตัก หรืออยู่ใกล้ชิดเพื่อให้ลูกอุ่นใจ
5. ถ้าลูกต้องฉีดยา เจาะเลือด ไม่ควรหลอกลูกว่าไม่เจ็บ แต่ควรบอกลูกว่าเจ็บนิดเดียวเดี๋ยวก็หาย
6. ถ้าหมอนัดตรวจอีกครั้ง ควรมาตามนัดเพื่อรักษาให้หายขาด
สร้างลูกให้ฉลาดด้วยนมแม่
ระยะ 3 เดือนก่อนคลอด และ 6 เดือนหลังคลอด เป็นช่วงที่สำคัญเพราะเป็นช่วงที่เชลล์สมองกำลังแบ่งตัว และเจริญเติบโตมากที่สุด ดังนั้นการให้นมลกเองในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด จึงเป็นโอกาสทองที่แม่จะสร้างความเฉลียวฉลาดให้กับลูก
ในน้ำนมแม่นอกจากจะอุดมไปด้วยโปรตีน แร่ธาตุ ไขมันและวิตามินที่ทารกต้องการแล้ว น้ำนมถั่วเหลืองยังเป็นเหมือนวัคซีนป้องกันการติดเชื้ออย่างดี และยังมีน้ำตาลนมเป็นจำนวนมาก ซึ่งน้ำตาลนมนี้เองเป็นตัวการสำคัญของการเจริญเติบโตของสมองน้อย ๆของลูกคุณนั่นเอง
คำแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- ควรให้ลูกดูดนมแม่ภายหลังคลอดให้เร็วที่สุดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้มากเพียงพอ
- ควรทำความสะอาดบริเวณหัวนมก่อนให้ลูกดูดทุกครั้ง โดยใช้สำลีชุบน้ำตมเช็ดก่อนให้ลูกดูดนม เมื่อให้นมเสร็จเช็ดด้วยสำลีอีกที
- ท่าที่ลูกจะดูดนมได้อย่างถูกต้อง คือ ให้หัวนมแม่อยู่ที่แก้มใกล้มุมปากลูก โดยธรรมชาติเด็กจะหันปากไปมาจนพบหัวนม และอ้าปากพร้อมที่จะดูดทันที
ไม่ควรจับศรีษะลูกและพยายามดันหัวนมเข้าปากทันที เพราะลูกอาจจะปฏิเสธการดูดนมได้
- ควรให้ลูกอมหัวนมถึงบริเวณส่วนคลำรอบหัวนม (บริเวณลานหัวนม)ให้มากที่สุด ถ้าลูกอมตื้นเงือกเด็กจะกดลงตรงหัวนมแม่ ทำให้หัวนมแม่เจ็บมาก และอาจทำให้เกิดแผลบริเวณหัวนมได้
- ควรอุ้มลูกให้เรอทุกครั้งหลังการให้นม เพื่อระบายลมออกจากท้อง
เทคนิคการป้อนนมขวด
- ควรนั่งบนเก้าอี้ในท่าที่สบาย อุ้มลูกไว้ที่วงแขน
- ถือขวดนมให้เอียงได้ระดับ เพื่อลูกจะได้ไม่ดูดเอาอากาศเข้าไปซึ่งทำให้อืด ปวดท้องได้
- อย่าให้ลูกดูดนมเองตามลำพัง โดยใช้ผ้าหนุนคอขวดไว้
- จับลูกเรอให้เป็นระยะ จนกว่าลูกจะกินนมอิ่ม
- ไม่ควรเก็บนมที่เหลือไว้ให้ลูกกินอีก
- ควรล้างขวดนมทันทีด้วยน้ำอุ่นหรือนำยาล้างขวดนม แล้วนำไปต้มในน้ำเดือนนาน 15 นาที จึงจะนำไปใช้ได้
ลูกอ้อน 3 เดือน
ลูกอ้อน 3 เดือน หรือร้อง 3 เดือน ก็คือการร้อง โคลิกของแพทย์สมัยใหม่นั้นเองค่ะอาการจะเริ่มเมื่อเด็กอายุราว 2 สัปดาห์ และมักหายไปเมื่ออายุ3เดือนอาการร้องอย่างรุนแรงนี้มักจะเริ่มตอนเย็นๆ ลูกจะงอเข่าและเหยียดเกร็งคล้ายกับปวดท้องอย่างแรง แผดเสียงร้องอย่างไม่ลืมหูลืมตา แต่พอถึงเวลาหยุดคือประมาณ 2-3ชั่วโมง ก็จะเงียบสนิทเป็นปลิดทิ้งเลยที่เดียว
คุณแม่สามารถช่วยลูกได้โดย
- ตกเย็นสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีที่สุด
- เปิดเพลงเย็นๆ เบา ๆ
- อุ้มลูกไว้แนบอก พร้อมปลอบเบา ๆ
- ขณะปลอบอาจจะอุ้มลูกเดินไปเดินมา ที่สำคัญแม่ต้องใจเย็น อย่าหงุดหงิดหรือร้องไห้ตามลูก
ลิ้นเป็นฝ้า
ฝ้าขาวที่เกาะอยู่บนลิ้น กระพุ้งแก้มของลูก เกิดจากผิวชั้นนอกที่ลอกออก และมีน้ำลายผสมคราบนมและเศษอาหารมาเกะ บางครั้งก็มีเชื้อราทำให้เกิดเป็นปื้นขาว ๆ เกาะแน่นอยู่บนลิ้น ทำให้ลูกเจ็บและเบื่อนมได้ การล้างคราบนมที่ติดในช่องปากใช้สำลีชุบน้ำอุ่นหรือกลีเซอรีนบอแรกซ์เซ็ดทำความสะอาดวันละ 2-3 ครั้ง หากมีฝ้าเกาะติดที่ผนังด้านกระพุ้งแก้ม ซึ่งรักษาความสะอาดยาก ควรป้ายยาสีม่วงเจนเซียนไวโอเล็ต 1% วันละครั้ง ถ้าทำวิธีการต่าง ๆ แล้วไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์
ผื่นผ้าอ้อม เกิดจากผ้าอ้อมที่ซักไม่สะอาดระคายเคืองผิวลูกหรือผ้าอ้อมเปียกชื้นเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค จนก่อให้เกิดผื่นผิวหนังลูก การปล่อยให้ลูกนอนจมฉี่หรือไม่ได้เปลี่ยนผ้าอ้อม ปล่อยให้อับชื้นอยู่นาน ๆ แอมโมเนียในปัสสาวะ จะทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมได้ การแก้ไขทำได้ง่าย ๆ โดยซักผ้าออมให้สะอาด ตากแดดให้แห้งสนิทหากเป็นวันที่อากาศอับชื้น ไม่มีแดดควรรีดฆ่าเชื้อโรคก่อนนำมาใช้เวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกทำความสะอาดก้นลูก โดยใช้สำลีหรือผ้าชุบน้ำเช็ดให้สะอาด แล้วเช็ดให้แห้งสนิทก่อนใส่ผ้าอ้อมผืนใหม่ หากเป็นมากปล่อยให้ลูกล่อนจ้อนบ้าง ให้อากาศถ่ายเทสะดวก หากเป็นมากควรพาไปพบแพทย์
ผื่นในรอยพับ ถ้าลูกอ้วนมาก เนื้อจะย่นเป็นชั้น ๆ จนเกิดเป็นรอยพับ เป็นที่หมักหมมความชื้น เกิดความเสียดสีทำให้เกิดความระคายเคือง และมักเป็นผื่นแดงได้ง่าย
วิธีแก้ไข
- ควรอาบน้ำให้สะอาด ดึงเนื้อย่น ๆ ของลูกแล้วล้างบริเวณรอยพับให้เกลี้ยง อย่าให้คราบแป้งเกาะอยู่ เพราะยิ่งทำให้หมักหมม เมื้อสะอาดดีแล้ว เช็ดตัวลูกให้แห้ง ปล่อยให้ผิวแห้งสนิทก่อนทาแป้งบาง ๆ อาจทาวาสลีนบาง ๆ บริเวณรอยย่นเพื่อป้องกันการเสียดสีและระคายเคียง
ลูกสะดือจุ่นทำอย่างไร การที่เด็กมีสะดือโป่งออกมา โดยเฉพาะในเวลาร้องไห้หรือเบ่งอุจจาระจะโตมากขึ้นและตึง จนเป็นที่หวาดเสียวแก่คุณพ่อ คุณแม่ ว่าจะแตกออกมาเหมือนลูกโป่ง ทั้งนี้เพราะช่วงเวลานั้น เป็นช่วงความดันช่องท้องเพิ่มขึ้น สาเหตุเกิดจากความอ่อนแอของกล้ามเนื้อหน้าท้องบริเวณนั้น ส่วนอาการดังกล่าวจะหายไปเองเมื่อโตขึ้น (มักจะหายภายใน 2 ปี) นอกจากในรายที่เป็นรูเปิดกว้างมาก ซึ่งอาจไม่ปิดเองก็อาจจะพิจารณาผ่าตัดได้ในภายหลัง การใช้แทบพลาสเตอร์ หรือใช้เหรียญบาทกดทับไว้ไม่เป็นการช่วยแต่อย่างใด แต่จะทำให้บริเวณนั้นชื้นแฉะ และอักเสบได้ง่าย
ลูกเมารถ ไม่ว่าจะเดินทางโดยรถ เรือ หรือเครื่องบิน เด็กบางคนจะคลื่นไว้ อาเจียน ถ้าลูกมีอาการดังกล่าวระหว่างการเดินทางควรปฏิบัติดังนี้ - ก่อนเดินทางอย่าให้ลูกกินอาหารมาก
- นำเอาของเล่นหรือเกมส์ให้ลูกเล่นจนเพลิน
- อย่าให้ลูกตื่นเต้นมาก
- เปิดหน้าต่างรถอย่างน้อย 1 บาน เพื่อให้อากาศเข้ามา
- หยุดเดินทางเป็นระยะเพื่อให้ลูกยืดแขนยืดขา
- หากเป็นไปได้ควรเดินทางกลางคืน ลูกจะได้หลับ
- ขอยาป้องกันการคลื่นไส้อาเจียนจากแพทย์
เมื่อลูกท้องผูก 1. ควรดื่มน้ำมากๆ เพราะการดื่มน้ำน้อยจะทำให้ก้อนอุจจาระในลำไส้แห้ง แข็ง และถ่ายลำบาก
2. ให้ดื่มน้ำส้มคั้นหรือน้ำมะขามจาง ๆ ครั้งแรกอาจเริ่มให้ดื่มวันละ 1 ช้อนชา แล้วจึงเพิ่มเป็น 2 ช้อนชา จนดูว่าถ่ายอุจจาระเป็นปกติดีจึงค่อยงด
3. ในเด็กเล็กๆ ไม่ควรจับลูกสวนอุจจาระบ่อย ๆ เพราะจะทำให้ทวารหนักอักเสบและที่สำคัญจะทำให้ลูกกลัวหวาดผวาได้ ควรพบแพทย์เพื่อช่วยเหลือด้วยการให้ยาระบายอ่อน ๆ เพื่อให้ร่างกายซินกับระบบขับถ่าย และควรเพิ่มอาหารเสริมประเภทมีกากมากๆ เช่น ผัก ผลไม้จะช่วยได้มากขึ้น
เป็นหวัดบ่อย เด็กส่วนใหญ่จะเป็นไข้หวัดเฉลี่ยปีละ 6 ครั้ง มักมีอาการไข้อยู่ประมาณ 2-3 วัน ร่วมกับอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล บางครั้งอาจมีอาการไอหรือเจ็บคอเล็กน้อย
วิธีหลีกเลี่ยง ไม่ให้ลูกเป็นไข้คือ อย่าปล่อยให้ลูกตากฝน หรือแม้แต่โดนละอองฝน หลีกเลี่ยงจากคนที่เป็นไข้หวัด หากคุณพ่อ คุณแม่หรือคนในบ้านไม่สบายควรอยู่ห่าง ๆลูกสักพัก ก็จะเป็นการดี เพื่อช่วยให้สุขภาพของลูกน้อยที่คุณรักปลอดภัยจากการเจ็บไข้
การใช้ยาเมื่อลูกเป็นไข้หวัด
1. เด็กมีไข้ตัวร้อนถ้าอายุต่ำกว่า 1 ปี ห้ามใช้ยาแอสไพริน
2. เด็กมีน้ำมูกใส ถ้าอายุต่ำกว่า 1 ปี หามใช้ยาเอง ให้ใช้ลูกยางดูดน้ำมูกออกมาก็พอ
3. เด็กมีอาการคัดจมูกไม่ควรใช้ยาเอง อาจจะให้ดื่มน้ำอุ่น หรือจะสูดดมไอน้ำก็ได้
4. ถ้าเด็กมีไอเสมหะ ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ ถ้าไม่มีเสมหะให้ดื่มยาแก้ไอน้ำเชื่อมได้
5. อาการเจ็บคอมีน้ำมูกเขียว ๆเหลือง ๆ มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส แสดงว่ามีอาการแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียให้พบแพทย์
กำจัดเสมหะในเด็กลดปัญหาปอดบวม การเคาะปอดร่วมกับการจัดท่าไล่เสมหะจากแขนงขั้วปอดออกมาภายนอกแล้วดูดออก ทำให้เด็กหายใจสะดวกขึ้น นอนหลับได้ในเด็กเล็กๆ มักมีปัญหาในการกำจัดเสมหะจากร่างกายด้วยตนเองด้วยการไอหรือบ้วนเสมหะออกจากปากรวมทั้งการสั่งน้ำมูกจึงต้องให้นักกายภาพบำบัดดูดเสมหะให้ก่อนก่อนการดูดเสมหะไม่ควรรับประทานอาหารอย่างน้อยครึ่งชัวโมง และหลังจากการดูดเสมหะแล้วผู้ปกครองควรอุ้มเด็กพาดบ่าสักครู่จนเด็กหายเหนื่อยแล้วค่อยให้อาหาร
ถ้าลูกชักจากไข้สูง ชัก คือ อาการเกร็งและกระตุกของกล้ามเนื้อทั้งตัวหรือหรือบางส่วนบางคนจะกัดลิ้น หายใจขัด ถ้าปล่อยให้ชักนานๆ สมองจะขาดอ๊อกชิเจนทำให้พิการปัญญาอ่อนหรือเสียชีวิตได้ ข้อควรปฏิบัติ
1. หาด้ามช้อน หรือปากกาพันด้วยผ้าบาง ๆ สอดเข้าไปในปากเพื่อกันไม่ให้เด็กกัดลิ้นตัวเอง
2. ถอดเสื้อผ้าออกให้หมด เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นให้ทั่วตัววางกระเป๋าน้ำแข็งประคบที่ศรีษะ ขาหนีบรักแร้ทั้งสองข้าง ควรเช็ดตัวจนกว่าเด็กจะตัวเย็นลง
3. หลังจากหยุดชัก ถ้าเด็กจนรู้สึกตัวดี ให้ป้อนยาลดไข้
4. รีบนำเด็กมาพบแพทย์โดยเร็ว และ ควรเช็ดตัวลดไข้ตลอดระยะเวลาการเดินทาง เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กชักซ้ำ
ลูกกินยายาก
- เตรียมเครื่องดื่มที่ลูกชอบไว้ให้ดื่มตาม เพื่อกลบรสยา
- แนะนำให้ลูกปิดจมูกเพื่อไม่ให้รับกลิ่นแต่อย่าบังคับหรือบีบจมูกลูก
- ถ้าลูกโตพอควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าการกินยาทำให้หายป่วย
- หากลูกไม่ชอบรสชาดของยา ขณะกรอกยาให้กรอกยาไปที่โคนลิ้นจะช่วยให้ลูกร%
1. อย่าแสดงความกังวลมากเกินไปเพราะจะทำให้ลูกตกใจตามไปด้วย
2. เล่าอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆรวมทั้งการรักษา และการใช้ยาที่ทำไปแล้ว
3. ตอบคำถามของหมอให้ตรงจุดไม่ปิดบัง
4. อุ้มลูกนั่งตัก หรืออยู่ใกล้ชิดเพื่อให้ลูกอุ่นใจ
5. ถ้าลูกต้องฉีดยา เจาะเลือด ไม่ควรหลอกลูกว่าไม่เจ็บ แต่ควรบอกลูกว่าเจ็บนิดเดียวเดี๋ยวก็หาย
6. ถ้าหมอนัดตรวจอีกครั้ง ควรมาตามนัดเพื่อรักษาให้หายขาด
สร้างลูกให้ฉลาดด้วยนมแม่
ระยะ 3 เดือนก่อนคลอด และ 6 เดือนหลังคลอด เป็นช่วงที่สำคัญเพราะเป็นช่วงที่เชลล์สมองกำลังแบ่งตัว และเจริญเติบโตมากที่สุด ดังนั้นการให้นมลกเองในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด จึงเป็นโอกาสทองที่แม่จะสร้างความเฉลียวฉลาดให้กับลูก
ในน้ำนมแม่นอกจากจะอุดมไปด้วยโปรตีน แร่ธาตุ ไขมันและวิตามินที่ทารกต้องการแล้ว น้ำนมถั่วเหลืองยังเป็นเหมือนวัคซีนป้องกันการติดเชื้ออย่างดี และยังมีน้ำตาลนมเป็นจำนวนมาก ซึ่งน้ำตาลนมนี้เองเป็นตัวการสำคัญของการเจริญเติบโตของสมองน้อย ๆของลูกคุณนั่นเอง
คำแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- ควรให้ลูกดูดนมแม่ภายหลังคลอดให้เร็วที่สุดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้มากเพียงพอ
- ควรทำความสะอาดบริเวณหัวนมก่อนให้ลูกดูดทุกครั้ง โดยใช้สำลีชุบน้ำตมเช็ดก่อนให้ลูกดูดนม เมื่อให้นมเสร็จเช็ดด้วยสำลีอีกที
- ท่าที่ลูกจะดูดนมได้อย่างถูกต้อง คือ ให้หัวนมแม่อยู่ที่แก้มใกล้มุมปากลูก โดยธรรมชาติเด็กจะหันปากไปมาจนพบหัวนม และอ้าปากพร้อมที่จะดูดทันที
ไม่ควรจับศรีษะลูกและพยายามดันหัวนมเข้าปากทันที เพราะลูกอาจจะปฏิเสธการดูดนมได้
- ควรให้ลูกอมหัวนมถึงบริเวณส่วนคลำรอบหัวนม (บริเวณลานหัวนม)ให้มากที่สุด ถ้าลูกอมตื้นเงือกเด็กจะกดลงตรงหัวนมแม่ ทำให้หัวนมแม่เจ็บมาก และอาจทำให้เกิดแผลบริเวณหัวนมได้
- ควรอุ้มลูกให้เรอทุกครั้งหลังการให้นม เพื่อระบายลมออกจากท้อง
เทคนิคการป้อนนมขวด
- ควรนั่งบนเก้าอี้ในท่าที่สบาย อุ้มลูกไว้ที่วงแขน
- ถือขวดนมให้เอียงได้ระดับ เพื่อลูกจะได้ไม่ดูดเอาอากาศเข้าไปซึ่งทำให้อืด ปวดท้องได้
- อย่าให้ลูกดูดนมเองตามลำพัง โดยใช้ผ้าหนุนคอขวดไว้
- จับลูกเรอให้เป็นระยะ จนกว่าลูกจะกินนมอิ่ม
- ไม่ควรเก็บนมที่เหลือไว้ให้ลูกกินอีก
- ควรล้างขวดนมทันทีด้วยน้ำอุ่นหรือนำยาล้างขวดนม แล้วนำไปต้มในน้ำเดือนนาน 15 นาที จึงจะนำไปใช้ได้
ลูกอ้อน 3 เดือน
ลูกอ้อน 3 เดือน หรือร้อง 3 เดือน ก็คือการร้อง โคลิกของแพทย์สมัยใหม่นั้นเองค่ะอาการจะเริ่มเมื่อเด็กอายุราว 2 สัปดาห์ และมักหายไปเมื่ออายุ3เดือนอาการร้องอย่างรุนแรงนี้มักจะเริ่มตอนเย็นๆ ลูกจะงอเข่าและเหยียดเกร็งคล้ายกับปวดท้องอย่างแรง แผดเสียงร้องอย่างไม่ลืมหูลืมตา แต่พอถึงเวลาหยุดคือประมาณ 2-3ชั่วโมง ก็จะเงียบสนิทเป็นปลิดทิ้งเลยที่เดียว
คุณแม่สามารถช่วยลูกได้โดย
- ตกเย็นสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีที่สุด
- เปิดเพลงเย็นๆ เบา ๆ
- อุ้มลูกไว้แนบอก พร้อมปลอบเบา ๆ
- ขณะปลอบอาจจะอุ้มลูกเดินไปเดินมา ที่สำคัญแม่ต้องใจเย็น อย่าหงุดหงิดหรือร้องไห้ตามลูก
ลิ้นเป็นฝ้า
ฝ้าขาวที่เกาะอยู่บนลิ้น กระพุ้งแก้มของลูก เกิดจากผิวชั้นนอกที่ลอกออก และมีน้ำลายผสมคราบนมและเศษอาหารมาเกะ บางครั้งก็มีเชื้อราทำให้เกิดเป็นปื้นขาว ๆ เกาะแน่นอยู่บนลิ้น ทำให้ลูกเจ็บและเบื่อนมได้ การล้างคราบนมที่ติดในช่องปากใช้สำลีชุบน้ำอุ่นหรือกลีเซอรีนบอแรกซ์เซ็ดทำความสะอาดวันละ 2-3 ครั้ง หากมีฝ้าเกาะติดที่ผนังด้านกระพุ้งแก้ม ซึ่งรักษาความสะอาดยาก ควรป้ายยาสีม่วงเจนเซียนไวโอเล็ต 1% วันละครั้ง ถ้าทำวิธีการต่าง ๆ แล้วไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์
ผื่นผ้าอ้อม เกิดจากผ้าอ้อมที่ซักไม่สะอาดระคายเคืองผิวลูกหรือผ้าอ้อมเปียกชื้นเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค จนก่อให้เกิดผื่นผิวหนังลูก การปล่อยให้ลูกนอนจมฉี่หรือไม่ได้เปลี่ยนผ้าอ้อม ปล่อยให้อับชื้นอยู่นาน ๆ แอมโมเนียในปัสสาวะ จะทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมได้ การแก้ไขทำได้ง่าย ๆ โดยซักผ้าออมให้สะอาด ตากแดดให้แห้งสนิทหากเป็นวันที่อากาศอับชื้น ไม่มีแดดควรรีดฆ่าเชื้อโรคก่อนนำมาใช้เวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกทำความสะอาดก้นลูก โดยใช้สำลีหรือผ้าชุบน้ำเช็ดให้สะอาด แล้วเช็ดให้แห้งสนิทก่อนใส่ผ้าอ้อมผืนใหม่ หากเป็นมากปล่อยให้ลูกล่อนจ้อนบ้าง ให้อากาศถ่ายเทสะดวก หากเป็นมากควรพาไปพบแพทย์
ผื่นในรอยพับ ถ้าลูกอ้วนมาก เนื้อจะย่นเป็นชั้น ๆ จนเกิดเป็นรอยพับ เป็นที่หมักหมมความชื้น เกิดความเสียดสีทำให้เกิดความระคายเคือง และมักเป็นผื่นแดงได้ง่าย
วิธีแก้ไข
- ควรอาบน้ำให้สะอาด ดึงเนื้อย่น ๆ ของลูกแล้วล้างบริเวณรอยพับให้เกลี้ยง อย่าให้คราบแป้งเกาะอยู่ เพราะยิ่งทำให้หมักหมม เมื้อสะอาดดีแล้ว เช็ดตัวลูกให้แห้ง ปล่อยให้ผิวแห้งสนิทก่อนทาแป้งบาง ๆ อาจทาวาสลีนบาง ๆ บริเวณรอยย่นเพื่อป้องกันการเสียดสีและระคายเคียง
ลูกสะดือจุ่นทำอย่างไร การที่เด็กมีสะดือโป่งออกมา โดยเฉพาะในเวลาร้องไห้หรือเบ่งอุจจาระจะโตมากขึ้นและตึง จนเป็นที่หวาดเสียวแก่คุณพ่อ คุณแม่ ว่าจะแตกออกมาเหมือนลูกโป่ง ทั้งนี้เพราะช่วงเวลานั้น เป็นช่วงความดันช่องท้องเพิ่มขึ้น สาเหตุเกิดจากความอ่อนแอของกล้ามเนื้อหน้าท้องบริเวณนั้น ส่วนอาการดังกล่าวจะหายไปเองเมื่อโตขึ้น (มักจะหายภายใน 2 ปี) นอกจากในรายที่เป็นรูเปิดกว้างมาก ซึ่งอาจไม่ปิดเองก็อาจจะพิจารณาผ่าตัดได้ในภายหลัง การใช้แทบพลาสเตอร์ หรือใช้เหรียญบาทกดทับไว้ไม่เป็นการช่วยแต่อย่างใด แต่จะทำให้บริเวณนั้นชื้นแฉะ และอักเสบได้ง่าย
ลูกเมารถ ไม่ว่าจะเดินทางโดยรถ เรือ หรือเครื่องบิน เด็กบางคนจะคลื่นไว้ อาเจียน ถ้าลูกมีอาการดังกล่าวระหว่างการเดินทางควรปฏิบัติดังนี้ - ก่อนเดินทางอย่าให้ลูกกินอาหารมาก
- นำเอาของเล่นหรือเกมส์ให้ลูกเล่นจนเพลิน
- อย่าให้ลูกตื่นเต้นมาก
- เปิดหน้าต่างรถอย่างน้อย 1 บาน เพื่อให้อากาศเข้ามา
- หยุดเดินทางเป็นระยะเพื่อให้ลูกยืดแขนยืดขา
- หากเป็นไปได้ควรเดินทางกลางคืน ลูกจะได้หลับ
- ขอยาป้องกันการคลื่นไส้อาเจียนจากแพทย์
เมื่อลูกท้องผูก 1. ควรดื่มน้ำมากๆ เพราะการดื่มน้ำน้อยจะทำให้ก้อนอุจจาระในลำไส้แห้ง แข็ง และถ่ายลำบาก
2. ให้ดื่มน้ำส้มคั้นหรือน้ำมะขามจาง ๆ ครั้งแรกอาจเริ่มให้ดื่มวันละ 1 ช้อนชา แล้วจึงเพิ่มเป็น 2 ช้อนชา จนดูว่าถ่ายอุจจาระเป็นปกติดีจึงค่อยงด
3. ในเด็กเล็กๆ ไม่ควรจับลูกสวนอุจจาระบ่อย ๆ เพราะจะทำให้ทวารหนักอักเสบและที่สำคัญจะทำให้ลูกกลัวหวาดผวาได้ ควรพบแพทย์เพื่อช่วยเหลือด้วยการให้ยาระบายอ่อน ๆ เพื่อให้ร่างกายซินกับระบบขับถ่าย และควรเพิ่มอาหารเสริมประเภทมีกากมากๆ เช่น ผัก ผลไม้จะช่วยได้มากขึ้น
เป็นหวัดบ่อย เด็กส่วนใหญ่จะเป็นไข้หวัดเฉลี่ยปีละ 6 ครั้ง มักมีอาการไข้อยู่ประมาณ 2-3 วัน ร่วมกับอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล บางครั้งอาจมีอาการไอหรือเจ็บคอเล็กน้อย
วิธีหลีกเลี่ยง ไม่ให้ลูกเป็นไข้คือ อย่าปล่อยให้ลูกตากฝน หรือแม้แต่โดนละอองฝน หลีกเลี่ยงจากคนที่เป็นไข้หวัด หากคุณพ่อ คุณแม่หรือคนในบ้านไม่สบายควรอยู่ห่าง ๆลูกสักพัก ก็จะเป็นการดี เพื่อช่วยให้สุขภาพของลูกน้อยที่คุณรักปลอดภัยจากการเจ็บไข้
การใช้ยาเมื่อลูกเป็นไข้หวัด
1. เด็กมีไข้ตัวร้อนถ้าอายุต่ำกว่า 1 ปี ห้ามใช้ยาแอสไพริน
2. เด็กมีน้ำมูกใส ถ้าอายุต่ำกว่า 1 ปี หามใช้ยาเอง ให้ใช้ลูกยางดูดน้ำมูกออกมาก็พอ
3. เด็กมีอาการคัดจมูกไม่ควรใช้ยาเอง อาจจะให้ดื่มน้ำอุ่น หรือจะสูดดมไอน้ำก็ได้
4. ถ้าเด็กมีไอเสมหะ ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ ถ้าไม่มีเสมหะให้ดื่มยาแก้ไอน้ำเชื่อมได้
5. อาการเจ็บคอมีน้ำมูกเขียว ๆเหลือง ๆ มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส แสดงว่ามีอาการแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียให้พบแพทย์
กำจัดเสมหะในเด็กลดปัญหาปอดบวม การเคาะปอดร่วมกับการจัดท่าไล่เสมหะจากแขนงขั้วปอดออกมาภายนอกแล้วดูดออก ทำให้เด็กหายใจสะดวกขึ้น นอนหลับได้ในเด็กเล็กๆ มักมีปัญหาในการกำจัดเสมหะจากร่างกายด้วยตนเองด้วยการไอหรือบ้วนเสมหะออกจากปากรวมทั้งการสั่งน้ำมูกจึงต้องให้นักกายภาพบำบัดดูดเสมหะให้ก่อนก่อนการดูดเสมหะไม่ควรรับประทานอาหารอย่างน้อยครึ่งชัวโมง และหลังจากการดูดเสมหะแล้วผู้ปกครองควรอุ้มเด็กพาดบ่าสักครู่จนเด็กหายเหนื่อยแล้วค่อยให้อาหาร
ถ้าลูกชักจากไข้สูง ชัก คือ อาการเกร็งและกระตุกของกล้ามเนื้อทั้งตัวหรือหรือบางส่วนบางคนจะกัดลิ้น หายใจขัด ถ้าปล่อยให้ชักนานๆ สมองจะขาดอ๊อกชิเจนทำให้พิการปัญญาอ่อนหรือเสียชีวิตได้ ข้อควรปฏิบัติ
1. หาด้ามช้อน หรือปากกาพันด้วยผ้าบาง ๆ สอดเข้าไปในปากเพื่อกันไม่ให้เด็กกัดลิ้นตัวเอง
2. ถอดเสื้อผ้าออกให้หมด เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นให้ทั่วตัววางกระเป๋าน้ำแข็งประคบที่ศรีษะ ขาหนีบรักแร้ทั้งสองข้าง ควรเช็ดตัวจนกว่าเด็กจะตัวเย็นลง
3. หลังจากหยุดชัก ถ้าเด็กจนรู้สึกตัวดี ให้ป้อนยาลดไข้
4. รีบนำเด็กมาพบแพทย์โดยเร็ว และ ควรเช็ดตัวลดไข้ตลอดระยะเวลาการเดินทาง เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กชักซ้ำ
ลูกกินยายาก
- เตรียมเครื่องดื่มที่ลูกชอบไว้ให้ดื่มตาม เพื่อกลบรสยา
- แนะนำให้ลูกปิดจมูกเพื่อไม่ให้รับกลิ่นแต่อย่าบังคับหรือบีบจมูกลูก
- ถ้าลูกโตพอควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าการกินยาทำให้หายป่วย
- หากลูกไม่ชอบรสชาดของยา ขณะกรอกยาให้กรอกยาไปที่โคนลิ้นจะช่วยให้ลูกร%